วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ผลวิจัยใหม่ มือถือ กับ มะเร็ง สมอง


เตือนภัยมัจจุราชไร้สายต่อเด็ก ใช้มือถือเสี่ยงมะเร็งสมอง 5 เท่า


เด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นห้าเท่าที่จะเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรง

อินดิเพนเดนท์ - ผลวิจัยใหม่จากสวีเดนเตือนเด็กและวัยรุ่นเสี่ยงเพิ่ม 5 เท่าที่จะเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงจากการใช้โทรศัพท์มือถือ

นักวิจัย ระบุว่า เด็กมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากสมองและระบบประสาทยังพัฒนาไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ความที่ศรีษะมีขนาดเล็กกว่าและกะโหลกบางกว่า ยังทำให้คลื่นพลังงานจากโทรศัพท์มือถือสามารถทะลุทะลวงเข้าสู่สมองเด็กได้ มากกว่า

งานวิจัยจากสวีเดนที่เผยแพร่ต่อที่ประชุมระหว่างประเทศว่า ด้วยโทรศัพท์มือถือและสุขภาพของผู้ใช้ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่อังกฤษเมื่อ เร็วๆ นี้ มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งว่าด้วยความ เสี่ยงจากการแพร่กระจายคลื่นพลังงานที่เป็นต้นเหตุของมะเร็ง

ศาสตราจารย์ เลนนาร์ต ฮาร์เดลล์ จากยูนิเวอร์ซิตี้ ฮอสปิตอลในโอเรโบร สวีเดน ผู้นำการวิจัย แถลงต่อที่ประชุมที่จัดโดยเรดิเอชัน รีเสิร์ช ทรัสต์ว่า ผู้ ที่เริ่มใช้โทรศัพท์มือถือก่อนอายุ 20 ปีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 5 เท่าที่จะเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรง (glioma) หรือมะเร็งที่เกิดที่เซลล์ค้ำจุนระบบประสาท (glial cells) ขณะที่ความเสี่ยงของโรคนี้ต่อเด็กจากการใช้โทรศัพท์ไร้สายในบ้านสูงถึงเกือบ 4 เท่า

สำหรับ ผู้ที่เริ่มใช้โทรศัพท์ในช่วงเด็กหรือวัยรุ่นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 5 เท่าที่จะเป็นมะเร็งบริเวณส่วนต่อของหูกับสมอง (acoustic neuromas) ซึ่งแม้ไม่เป็นอันตราย แต่การตัดเนื้องอกนี้จากเส้นประสาทรับเสียงอาจทำให้เกิดอาการหูตึงได้

ในทางกลับกัน คน ที่ใช้โทรศัพท์มือถือหลังอายุ 20 ปีมีโอกาสเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรง เพียง 50% เท่านั้น และแค่ 2 เท่าสำหรับมะเร็งบริเวณส่วนต่อของหูกับสมอง

ศาสตราจารย์ ฮาร์เดลล์ กล่าวว่า ผลศึกษานี้ถือเป็นสัญญาณอันตราย และว่าเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ ยกเว้นเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ส่วน
วัยรุ่นควรใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีหรือชุดหูฟัง และควรใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อพิมพ์ข้อความเป็นหลัก

สำหรับ คนอายุ 20 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงจะลดลงเนื่องจากสมองมีการพัฒนาเต็มที่แล้ว ศาสตราจารย์ฮาร์เดลล์ยังยอมรับว่า อันตรายต่อเด็กและวัยรุ่นอาจมีมากกว่าที่พบในการศึกษานี้ เนื่องจากการศึกษานี้ไม่ได้แสดงผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือระยะยาว ขณะที่มะเร็งส่วนใหญ่ใช้เวลานานเป็น 10 ปีในการก่อตัว หรือยาวนานกว่าช่วงเวลาที่โทรศัพท์มือถือเริ่มวางขายในตลาด

งานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ ที่ใช้อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้นานกว่า 10 ปีมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะเป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงและมะเร็งบริเวณส่วน ต่อของหูกับสมอง อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ฮาร์เดลล์ยอมรับว่า ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลา ยาวนานเพิ่มความเสี่ยงสำหรับคนที่เริ่มต้นใช้ในวัยรุ่นอย่างไร จึงควรทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เดวิด คาร์เพนเตอร์ คณบดีคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ก ที่เข้าร่วมประชุมด้วย เห็นพ้องว่า เด็กสมัยนี้ใช้โทรศัพท์มือถือกันเกร่อไปหมด ทำให้ในอนาคตสังคมอาจเผชิญวิกฤตสุขภาพจากโรคมะเร็งสมองอันเป็นผลจากการใช้ โทรศัพท์มือถือ





วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

GAT PAT คืออะไร สอบอะไรบ้าง?? มาดูกัน GAT PAT 2553

GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553

นื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้

1.องค์ประกอบในการยื่นคะแนนเข้ามาหาวิทยาลัย ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย 1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %

**หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ


รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT 1. เนื้อหา - การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50% - การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50% 2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย - คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง - ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก - มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ 3. สอบปีละหลายครั้ง - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT 1. PAT มี 6 ชุด คือ PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์ เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ "อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ 2 ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตามลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการสอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7 สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง 6 ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก"ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้นได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย - คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก - มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ 3. การจัดสอบ จะจัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553
“สทศ.ต้องเตรียมเรื่องการออกข้อสอบ โดยได้ขอความร่วมมือจากอาจารย์มหาวิทยาลัยมาช่วยออกข้อสอบให้ นอกจากนี้ สทศ. ยังจะจัดสอบ B-NET ซึ่งเป็นแบบทดสอบความรู้ 5 ภาคเรียนของ ม.ปลาย เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำไปใช้ในการรับตรง ซึ่งการที่ สทศ. ต้องจัดสอบ B-NET เพราะไม่ต้องการให้เด็กวิ่งรอกสอบหลายที่” ผอ.สทศ. กล่าว.